สื่อบันทึกข้อมูล (Storage Media)
1. ความหมายของสื่อบันทึกข้อมูล
คือ หน่วยความจำที่ต้องมีกระเเสไฟฟ้าจ่ายให้กับหน่วยความจำตลอดเวลา เพื่อจำข้อมูลต่างๆได้แก่ RAM (Random Access Memory) ข้อมูลจะสูญหาย
สื่อบันทึกข้อมูลหรือสื่อจัดเก็บข้อมูล(Media) ที่ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูล ชุดคำสั่ง และสารสนเทศอื่นๆ ซึ่งถือเป็นหน่วยความจำสำรอง(Secondary Storage) คือ
หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ ที่ใช้งานใน เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1.1 หน่วยความจำชั่วคราว(แบบโวลาโทล์ Voltile Memory)
หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือหากปราศจากกระแสไฟเลี้ยง
1.2 หน่วยความจำถาวร (แบบนอนโวลาไทล์ Nonvolatile Memory)
คือ หน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องจ่ายกระแสไฟฟ้า
ให้กับหน่วย ความจำ
ข้อมูลสำคัญต่างๆ จำเป็นต้องมีการจัดการจัดเก็บไว้บน
หน่วยความจำถาวรก่อนที่จะทำการปิดเครื่อง เพื่อเก็บไว้ใช้งานวันข้างหน้าต่อไป
ได้แก่
Rom (Read
Only Memory) สื่อต่างๆที่ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลนั้น
ต้องใช้ควบคู่กับอุปกรณ์อ่านข้อมูล หรือเขียนข้อมูลที่เรียกว่า "อุปกรณ์บันทึก
ข้อมูล (Storage
Media)" เช่น
ฟลอปปี้ดิสก์ ใช้คู่กับฟลอปปี้ดิสไดรฟ์
หรือแผ่น
ซีดีใช้คู่กับเครื่องอ่านซีดี สื่อบันทึกข้อมูลมีชื่อเรียกกันหลายชื่อ คือ Secondary
Storage,
Auxilliary storage, Permanent
Storage หรือ
Mass Storage
ปัจจุบันมีสื่อบันทึกข้อมูลหลายๆ ประเภทด้วยกันให้เลือกใช้งาน การพิจารณาว่าใช้สื่อใดเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล สามารถพิจารณาได้หลายปัจจัยด้วยกัน เช่น
ต้นทุน ขนาด ความจุ
และความเร็วในกาารเข้าถึงข้อมูล
สื่อจัดเก็บข้อมูลได้พัฒนากันมากขึ้น เช่น
แผ่นซีดี แผ่นดีวีดี หรือธัมบ์ไดรฟ์ (Thumb Drive) ที่ทำให้สามารถจุข้อมูล
ได้สูงขึ้นมาก
2. ชนิดของสื่อบัญทึกข้อมูล
เทคโนโลยีของอุปกรณ์บันทึกข้อมูลหรือจัดเก็บข้อมูล สามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด
คือ
สื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีแบบแม่เหล็ก (Magnetic Storage) สื่อ
จัดเก็บข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีแบบแสง (Optical Storage) ซึ่งสื่อบันทึกข้อมูลส่วน
ใหญ่มักจะเป็นลักษณะใดลักษณะหนึ่งใในสองชนิดนี้ สื่อบันทึกข้อมูลบางชนิดที่ใช้
เทคโนโลยีทั้งสองรวมกัน คือ
สื่อแบบแม่เหล็กและแสง เช่น Mageneto-Opticel
Disk โซลิดสเตต
(Solid State)
หรือเอสเอสดี
2.1 สื่อบันทึกข้อมูลแบบแม่เหล็ก
สื่อบันทึกข้อมูลแบบแม่เหล็ก คือ
สื่อจัดเก็บข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีแม่เหล็ก
(Magnetic) ซึ่งประกอบด้วย ฟลอปปี้ดิสก์ (Floppy
Disk/Diskettes) ดิสก์ความจุสูง
(High-Capacity Floppy
Disk) ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) เทปแม่เหล็ก
(Magnetic
Tape)
1. ฟลอปปี้ดิสก์ (Floppy Disk/Diskettes)
ฟลอปปี้ดิสก์ หรือดิสก์เก็ต เป็นแผ่นดิสก์แบบอ่อนที่ทำจากแผ่นไมลาร์และเคลือบด้วยสารแม่เหล็กบางๆทั้งสองด้สน มีขนาดตั้งแต่8 นิ้ว 5.25นิ้ว
และ 3.5 นิ้ว ดิสก์เก็ตนี้บางที่ยังมีผู้ใช้งานเหลืออยูาบ้าง คือ
ขนาด 3.5 นิ้ว
แต่ปัจจุบันไม่นิยมแล้ว
มีดิสก์ชนิดความจุสูงอื่นๆ ให้เลือกใช้งานแทน
2. ดิสความจุสูง (High-capacity
Floppy Disk)
เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่มีลักษณะเดียวกับดิสก์เก็ตที่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้สูงที่
นิยมใช้กัน เช่น Super Disk , Zip Disk และ
Jaz Disk โดย
Super Disk มีความจุ
ขนาด
120 เมกะไบต์ ส่วน Zip
Disk มีความจุขนาด100 เมกะไบต์
และ250 เมกะไบต์ ในขณะที่
Jaz Disk สามมมารภจัดเก็บข้อมูลถึง 1-2
กิกะไบตื โดยสามารถเชื่อมต่อผ่านพอร์ต USB หรือพอร์ต Paraller
3. ฮาร์ดดิสก์
(Hard disks)
ฮาร์ดดิสก์
หรือจานบันทึกข้อมูลแบบแข็ง
คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดของเครื่อง เนื่องจากเป็นอุปกร์ที่มีความเร็วและความจุในการจัดเก็บข้อมูลได้สูงมากกว่า 500กิกะไบต์-3
เทระไบต์ อีกทั้งยังมีราคาไม่แพงและจัดเก็บอุปกรณ์หลักที่จำเป็นต้องมีในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดเก็บข้อมูลสำคัญต่างๆ
3.1 ลักษณะการทำงานของฮาร์ดิสก์
หลักการทำงานของฮาร์ดดิสก์
มีการทำงานคล้ายกับฟลอปปี้ดิสก์ และ ระบบเทปคลาสเซ็ทที่ใช้ตัวแม่เหล็กเป็นตัวบันทึกข้อมูลและสารแม่เหล็กนี้สามารถลบและเขียนใหม่ได้ตลอดเวลา
ซึ่งข้อมูลของฮาร์ดดิสก์จะถูกเก็บไว้ในรูปโดเมนแม่เหล็กขนาดเล็กมากเพื่อบรรจุข้อมูลที่ละเอียดและมากยิ่งขึ้น
การพัฒนาของฮาร์ดดิสก์จะถูกนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ เครื่องบันทึกเทปโทรทัศน์
เครื่องเมนเฟรมในปัจจุบัน
ฮาร์ดดิสก์ถูกนำมาใช้เป็นตัวเก็บข้อมูลไม่ว่าจะเป็นเครื่องเล่น
MP3 iPod หรือแม้กระทั่ววิทยุแบบพกพา
สร้างความสะดวกสบายและง่ายต่อการใช้งานได้มากยิ่งขึ้น
3.2
ชนิดของ ฮาาร์ดิสก์
แบบที่1
ฮาร์ดิสก์แบบ IDE ฮาร์ดิสก์แบบ IDE เป็นอินเทอร์เฟสรุ้นเก่า ที่มีการ
เชื่อมต่อโดยใช้สารแพรขนาด 40
เส้น โดยสานแพร 1 เส้น สามารถต่อฮาร์ดดิสก์
ได้1
ตัว บนเมนบอร์ดเดียวกันจะมีขั้วต่อ2
ขั้วด้วยกันสิ้นสุดการสนทนา
แบบที่2
ฮาร์ดดิสก์แบบ EIDE
(Enhanced Integrated Drive
Electronics)
เป็นมาตรฐานใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นจากเทคโนโลยีของ
IDE โดยมีประสิทธิภาพในการทำงาน
และมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลใกล้เคียง กับแบบ SCSI ที่ระดับเทคโนโลยีเดียวกันและมีราคาถูก ในปัจจุบันนิยมใช้
ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) แบบEIDE นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในการรับ-ส่งข้อมูลได้รวดเร็ว
ในเครื่องรุ่นใหม่จะสามารถพบอินเตอร์เฟซแบบ EIDE ซึ่งโดยมากจะติดตั้งมากับ Main Board เราจึงไม่จะเป็นต้องมีการ์ดเพิ่มขึ้นอีก
แบบที่3
ฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI
(Small Computer System
Interface)
เป็น
ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) ที่มีความสามารถในการรับ-ส่งข้อมูลได้สูงที่สุด
แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนา ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) แบบ EIDE ให้มีความเร็วสูงเกือบเทียบเท่ากับ SCSI และ เทียบเท่ากับ SCSI ในบางรุ่น แต่อย่างไรก็ตาม
ยังมีความแตกต่างทางด้านราคา ซึ่ง SCSI มีราคาสูงกว่า EIDE ถึง
30 % ขึ้นไป ในขนาดความจุที่เท่ากัน และความเร็วที่อยู่ระดับใกล้เคียงกัน
มาตรฐานการเชื่อมต่อก็ต้องเป็น SCSIซึ่งต้องเสียเงินค่าการ์ดอินเตอร์เฟซนี้เพิ่มเติม
แต่อย่างไรก็ตาม มันยังมีข้อดีที่ความเร็ว และ สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก
ได้ถึง 7 อุปกรณ์ และในขณะที่Configuration ของ EIDE สามารถติดตั้งอุปกรณ์แบบภายใน (Internal) เท่านั้น แต่SCSI สามารถติดตั้งอุปกรณ์แบบภายนอก (External) ได้ ดังนั้นส่วนใหญ่การอินเตอร์เฟซแบบนี้
มักถูกนำมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการความเร็วสูง เช่น Server ต่างๆ เครื่อง Work Stration เป็นต้น ข้อเสียของ SCSI นอกจากจะมีราคาแพงแล้ว
ยังมีการเชื่อมต่อที่ยากกว่า IDE ถึงแม้ในปัจจุบันจะสามารถอินเตอร์เฟซแบบ
Plug and Play โดยระบบ Windows 95 Operating System แต่ในทางปฏิบัติผู้ใช้ก็ต้องติดตั้ง Driver ต่างๆ ลงไป ในขณะที่ EIDE ถ้าเราเชื่อมต่อทาง Physical เรียบร้อยแล้ว
เมื่อทำการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ BIOS จะทำการเช็คให้ และ สามารถใช้งานได้ทันที
แบบที่4 ฮาร์ดดิสก์แบบ
Serial ATA
ฮาร์ดดิสก์แบบ
Serial ATA (SATA) เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อในปัจจุบัน
สายมี่ใช้กับฮาร์ดดิสก์มีจำนวนขาเพียง 7 เข็ม ส่วนที่เพิ่มจาก IDE คือ สายไฟสำหรับจ่ายไฟให้กับฮาร์ดดิสก์จะใช้หัวต่อแบบใหม่ที่ออกมาแบบโดยเฉพาะ
แบบที่5
ฮาร์ดดิสแบบ PLI-e
ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้มารตฐานการเชื่อมต่อแบบ PLI-Express มีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลที่เร็วกว่า SATA เป็นอย่างมาก แต่ราคาสูง
หากชื่นชอบในความเร็วและความแรงของ PLI-e สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์
แบบที่6
ฮาาร์ดดิสก์แบบ M2
M2
หรือ NGFF
(Nex Generation Form
Factor) เป็น
Interface ใหม่
มีหลายแบบมาก เน้นขนาดเล็ก และเร็วสูง
มีการเชื่่อมต่อแบบSATA ดั้งเดิม
และบวกเพิ่ม
การเชื่อมต่อตรงแบบ PCL-e x2 x4
ทำให้ประสิทธิภาพ มากกว่า SATA แบบเดิมๆ
3.3
การพิจารณาความเร็วของฮาร์ดดิส
มีปัจจัยหลานยประการด้วยกัน คือ
-เวลาค้นหา คือเวลาที่แขนของหัวอ่าน/บันทึก เคลื่อนที่ไปยังแทร็กหรือไซลินเดอร์ที่ต้องการ
โดยมีหน่วยความเร็วเป็นมิลลิวินาที
-เวลาแฝง คือ
เวลาที่ตำเเหน่งข้อมูลที่ต้องการในแต่ละแทร็กหมุนมายังตำแหน่งของหัวอ่านบันทึก
เพื่อที่จะทำการถ่ายโอนข้อมูลไปยังหน่วยความจำหลัก
-เวลาเข้าถึง คือ เวลารวมค้นหาและเวลาแฝง
-เวลาถ่ายโอน คือ
เวลาการถ่ายดอนข้อมูลระหว่างตำแหน่งข้อมูลบนแทร็กนั้นๆ ไปยังหน่วย
ความจำหลักซึ่งมีหน่วยเป็นบิตต่อวินาที ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลนี้จะขึ้นอยู่กับความเร็วรอบการหมุนของแพลตเตอร์
4.เทปแม่เหล็ก (Magnectic Tape)
เทปแม่เหล็ก (magnetic tape) เป็นอุปกรณ์ที่มีการใช้กันมานานแล้ว ลักษณะของเทปเป็นแถบสายพลาสติก
เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก เหมือนเทปบันทึกเสียง เทปแม่เหล็กใช้สำหรับเก็บข้อมูลจำนวนมาก
มีการจัดเก็บและเรียกค้นข้อมูลแบบเป็นลำดับเพราะฉะนั้นการเข้าถึงก็จะเป็นแบบเช่น
ถ้าต้องการหาข้อมูลที่อยู่ในลำดับที่ 5 บนเทป เราจะต้องอ่านข้อมูลลำดับต้นๆ ก่อนจนถึงข้อมูลที่เราต้องการ
ส่วนการประยุกต์นั้นเน้นสำหรับใช้สำรองข้อมูลเพื่อความมั่นใจ เช่น
ถ้าฮาร์ดดิสก์เสียหาย ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์อาจสูญหายได้
จึงจำเป็นต้องเก็บสำรองข้อมูลไว้
2.2
สื่อจัดเก็บข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีด้วยแสง
(Optical Storage)
แนวโน้มการจัดเก็บข้อมูลด้วยสื่อจัดเก็บข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีออปติคอล มีความนิยมสูงขึ้นเป็นลำดับเนื่องขากมีความจุสูง ทนทานและมีราคาถูก และโปรแกรมต่างๆ
ในปัจจุบันส่วนใหญ่ผู้ผลิตมักนำโปรแกรมบันทึกลงในแผ่นซีดีกันส่วนมาก
2.3
โซลิดเตตโดรฟ์ (SolidStage Drive)
เป็นอุปกรณ์ที่มีอายุยืนยาวกว่าอุปกรณ์ที่มีความร้อน เพราะมีความทนทานต่อการสั่นสะเทือน การกระชาก และการสึกกร่อนเชิงกลมากกว่าหลายเท่า โซลิดสเตตโดรฟ์คล้ายกับ USB ใช้เก็บบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็ก
ทนทาน เบา ทำงานได้รวดเร็ว
3
สื่อบันทึกข้อมูลแบบซีดี
3.1
ซีดีรอม (Compact DiscRead-Only
Memory: CD- Rom)
ซีดีรอม (CD ROM ย่อมาจาก Compact disc Read Only Memory) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลชนิดหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง
(Secondary Storage Media) ลักษณะเป็นแผ่นจานกลมคล้ายแผ่นเสียงหรือแผ่นคอมแพ็คดิสก์สำหรับฟังเพลง
ข้อดีคือ เก็บข้อมูลได้ปริมาณมากกว่าดิสก์เก็ต ซีดีรอม 1 แผ่นสามารถเก็บข้อมูล เทียบเท่ากับดิสก์เก็ตความจุ 1.44 MB จำนวน 600 แผ่น หรือเท่ากับฮาร์ดดิสก์ขนาดความจุ 600MB ในขณะที่ราคาของซีดีรอมถูกกว่าฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุเท่ากัน จากข้อดีดังกล่าวจึงมีผู้ผลิตซอฟต์แวร์ประเภทเกมส์และโปรแกรมบรรจุในซีดีรอมมากขึ้น
แผ่นซีดีรอม เป็นสื่อเก็บข้อมูลแบบดิจิทัล
ข้อมูลจะถูกจัดเก็บในรูปของบิต0
และ 1
ในฮาร์ดดิสก์นั้นตัวแผ่นจากจานแม่เหล็กจะบันทึกข้อมูลโดยอาศัยการเหนี่ยวนำเซลล์อนุภาค
แม่เหล็กขนาดเล็กหลายๆเซลล์เข้าด้วยกัน แต่แผ่นซีดีรอมนั้นใช้เทคนิคการบันทึกข้อมูลที่ต่าง
กันไป โดยเริ่มแรกแผ่นดิสก์จะมีสภาพราบเรียบซึ่งจะเรียกว่า สวนLandsจากนั้นจึงถูกเผาด้วย ลำแสงเลเซอร์ตามกระบวนการผลิตที่ได้กล่าวมาข้างต้น
จนกลายเป็นหลุมลึกลงไป เป็นส่วนที่ เราเรียกว่า pits ดังนั้นเมื่อแผ่นดิสก์หมุนอยู่ในตัวไดร์ฟแสงเลเซอร์จะพาดผ่านจากส่วน
Lands จะสะท้อนกลับออกมาแต่ถ้าผ่านส่วน Pits จะกระจายหายไป ส่วน photodetertor ในหัวอ่านเลนส์จะทราบถึงความแตกต่างสองประการนี้และนั่นคือคำตอบว่ามันทราบได้อย่างไรว่าบิตข้อมูลนั้นเป็น
1 หรือ 0
3.2
ดีวีดีรอม (Digital VersatileDisc Read-Only
Memory :DVD-Rom)
CD/DVD ROM เป็นอุปกรณ์ในการอ่านแผ่น CD VCD DVD โดยใช้แสงในการอ่านข้อมูล
สำหรับสื่อประเภทนี้ไปสำหรับบันทึกข้อมูลลงบนแผ่น มีความจุมากกว่าแผ่นดิสก์แบบปกติ ต้องย้อนเวลากลับไปอดีตนิดหน่อย สำหรับสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลในยุคแรกๆนั้นมีการใช้งานรูปแบบของเทปที่เป็นแทบแม่เหล็ก ซึ่งต้องใช้ขนาดและเทปที่ยาวมากกว่าจะเก็บข้อมูลได้ แต่ได้พัฒนามาเป็นเป็นดิสก์ก็ต้องใช้ขนาดที่เป็นแผ่นแต่ก็ไม่สามารถที่จะเก็บข้อมูลไว้ได้มากเท่าไหร่ แต่ก็ว่าข้อมูลสมัยนั้นไม่มีความจำเป็นต้องเก็บเท่าไหร่ แผ่นเดียวก็เก็บไฟล์เอกสารไว้มากมายแต่ปัจจุบันได้พัฒนามาเป็นแผ่น
CD และ DVD ที่มีความจุมาก
และนิยมใช้งานกันถึงจะมีการลดบทบาทไปบางส่วนเพราะว่ามีอุปกรณ์อื่นมาแทนอย่างเช่น แฟลชไดรฟ์มาแทนหรือว่าจะเป็นฮาร์ดดิสก์แบบภายนอกก็ตามแต่เราก็ยังเห็นว่าใช้ในการเก็บสื่อที่ต้องบันทึกถาวรได้นั้นเอง อย่างเช่นโปแกรม หนัง
เพลง และอื่นๆ ต่อมาได้มีการพัฒนามาเป็น
Blu-ray ที่มีความจุมากขึ้น
สำหรับความเป็นมานั้นเริ่มจากปี 1981 นั้นเทปมีข้อจำกัดเรื่องระบบเสียงและการบันทึกข้อมูลที่ไม่มากพอทางบริษัทโซนี่และฟิลลิปส์ได้ร่วมกันคิดค้นแผ่นสำหรับบันทึกข้อมูลขึ้นมาใช้งานโดยใช้แสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูลและทำการแปลงสัญญาณเป็นเสียงเพลงและข้อมูลต่างๆ และได้รับความนิยมเรื่อยมาเพราะว่าสามารถที่จะใช้งานแทนแผ่นดิสก์และมีราคาที่ถูกกว่าเก็บข้อมูลได้มากกว่า
ส่งผลทำให้มีทั้งเครื่องอ่านแผ่นด้วย
เนื่องจากว่ามีความสำคัญดังนั้นเรามาทำความรู้จักกันเลย สำหับ CD/DVDRom เป็นเครื่องที่ใช้ในการอ่านข้อมูลจากแผ่น CDประเภทต่างๆที่ตัวเครื่องสามารถที่จะรองรับการอ่านได้ และโดยทั่วไปการจำหน่ายจะเป็น DVD Rom โดยสามารถที่จะอ่านข้อมูล CD และDVD ได้เลย
หากเป็นรุ่นเก่าที่รองรับ CD ได้เท่านั้นไม่สามารถที่จะอ่าน DVD ได้เลย
และปัจจุบันส่วนมากเป็นแผ่น DVD กันหมดแล้ว
3.3 ซีดีอาร์ (CompactDiskRecordable) และซีดีอาร์ดับบิว (Compact Disk Rewritable)
CD-R (ซีดี-อาร์) เป็นแผ่นซีดีที่สามารถบันทึกได้
แต่ไม่สามารถแก้ไขข้อมูล ลบข้อมูลทิ้ง หรือบันทึกข้อมูลเดิมซ้ำได้
จึงเหมาะสำหรับการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่ต้องการแก้ไขแล้ว อย่างไรก็ตาม แผ่น CD-R นี้
ผู้ใช้งานสามารถบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมลงไปในแผ่นที่มีข้อมูลอยู่แล้วได้อีกหลายครั้ง
จนกว่าพื้นที่ในแผ่นจะเต็ม โดยการบันทึกแต่ละครั้งนี้ จะถูกแยกออกเป็นส่วนๆ
ที่เรียกว่า Session ซึ่งในการใช้โปรแกรม
เฉพาะสำหรับการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดี
เช่น โปรแกรม Nero ผู้ใช้งานจำเป็นต้องกำหนดการบันทึกให้เป็นแบบ
Multi-session คือกำหนดให้แผ่นสามารถบันทึกเพิ่มเติมได้หลายๆ
Session จนกว่าแผ่นจะเต็ม แต่ในกรณีที่ใช้ฟันก์ชั่นของ WindowsXP ในการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดี
การบันทึกด้วยวิธีนี้จะกำหนดให้เป็น Multi-seesion ให้โดยอัตโนมัติ (ติดตามอ่านได้ในเกร็ดความรู้จากคุณครู)
CD-RW (ซีดี-อาร์ดับบลิว)
เป็นแผ่นซีดีที่สามารถบันทึกซ้ำและลบข้อมูลทิ้งได้ โดยที่แผ่นซีดีนี้สามารถแบ่งการบันทึกเป็นหลายๆ
Session ได้เช่นเดียวกับแผ่น CD-Rแตกต่างกันตรงที่แผ่น CD-RW สามารถบันทึกซ้ำ และลบข้อมูลทิ้งได้
อย่างไรก็ตามการนำแผ่นที่มีข้อมูลอยู่แล้วมาบันทึกซ้ำ
หรือนำแผ่นที่มีข้อมูลเต็มแล้วกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง
คุณจำเป็นต้องลบข้อมูลทั้งแผ่นทิ้งไปก่อน แล้วนำกลับมาใช้เหมือนแผ่นเปล่า และด้วยความสามารถที่เหนือว่าแผ่น CD-R จึงทำให้แผ่น CD-RW มีราคาที่สูงกว่าแผ่น CD-R
Comments
Post a Comment